Header Image
ข้อมูลทั่วไปจังหวัด
watermark

บรรยายสรุปจังหวัดฉะเชิงเทรา
---------------------------

ข้อมูลทั่วไปจังหวัดฉะเชิงเทรา

ที่ตั้งอาณาเขต
     อาณาเขตติดต่อจังหวัดฉะเชิงเทรา
     - ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดนครนายก และจังหวัดปราจีนบุรี
     - ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดชลบุรี อ่าวไทย และจังหวัดจันทบุรี
​​​​​​​     - ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสระแก้ว
​​​​​​​     - ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดปทุมธานี และกรุงเทพมหานคร

ลักษณะภูมิประเทศ
​​​​​​​     ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นที่ราบชายฝั่งทะเล ทางด้านตะวันตก เฉียงใต้สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ ๒ เมตร และมีที่ดินบางส่วนโดยเฉพาะในเขตอำเภอสนามชัยเขตและอำเภอท่าตะเกียบ มีลักษณะเป็นที่ดิน ซึ่งบริเวณที่อยู่ถัดเข้าไปในพื้นที่แผ่นดินด้านตะวันออกเฉียงเหนือ มีสภาพพื้นที่ราบ เกิดจากการทับถมของตะกอนลำน้ำ พื้นที่จะค่อย ๆ ลาดสูงขึ้นไปทางทิศตะวันออกและทิศเหนือ โดยที่ประมาณครึ่งหนึ่งของจังหวัดจะมีสภาพเป็นลูกคลื่นและสูงชัน เป็นพื้นที่ภูเขา ซึ่งอยู่ในพื้นที่อำเภอพนมสารคามและอำเภอสนามชัยเขตมีความสูงจากระดับน้ำทะเล ๓๐-๘๐ เมตร จังหวัดฉะเชิงเทรามีแม่น้ำบางปะกงไหลผ่านพื้นที่อำเภอต่างๆ คือ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว อำเภอบางคล้า อำเภอเมือง อำเภอ บ้านโพธิ์ และออกสู่อ่าวไทยที่อำเภอบางปะกง รวมความยาวชายฝั่งทะเลประมาณ ๑๒ กิโลเมตร

สถานที่ท่องเที่ยว

วัดโสธรวรารามวรวิหาร
​​​​​​​     ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมือง ริมแม่น้ำบางปะกงเดิมชื่อว่า"วัดหงส์" สร้างในสมัย    กรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เป็นที่ประดิษฐาน "หลวงพ่อโสธร" พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดฉะเชิงเทรา มีการเล่าขานสืบต่อกันมาว่า ในสมัยล้านช้าง-ล้านนา เกิดยุคเข็ญขึ้น พม่าได้ยกทัพมาตีไทยหลายครั้ง จนครั้งสุดท้ายได้เผาบ้านเผาเมือง ตลอดจนวัดวาอารามต่างๆ หลวงพ่อ 3 พี่น้องจึงได้ปรึกษากัน เห็นว่าเป็นสถานการณ์ที่คับขัน จึงได้แสดงอภินิหารลงแม่น้ำปิงแล้วล่องมาทางใต้ พระพุทธรูปองค์พี่ใหญ่แสดงอภินิหารลอยไปถึงแม่น้ำแม่กลอง  จังหวัดสมุทรสงคราม ชาวประมงอาราธนาท่านขึ้นประดิษฐานไว้  ณ  วัดบ้านแหลม มีชื่อเรียกกันว่า "หลวงพ่อวัดบ้านแหลม" อีกองค์แสดงอภินิหารล่องเข้าไปในคลองบางพลี ชาวบ้านได้อาราธนาขึ้นประดิษฐานที่วัดบางพลี  จังหวัดสมุทรปราการ มีชื่อเรียกว่า "หลวงพ่อโตบางพลี" 

​​​​​​​    ส่วนพระพุทธรูปองค์สุดท้าย หรือหลวงพ่อพระพุทธโสธร  ได้แสดงอภินิหารลอยมาขึ้นที่หน้าวัดหงส์ ชาวบ้านพยายามฉุดขึ้นฝั่งหลายครั้งหลายหน แต่ไม่สามารถอัญเชิญหลวงพ่อขึ้นจากน้ำได้ กระทั่งมีอาจารย์ ผู้มีความรู้ทางไสยศาสตร์ผู้หนึ่งได้ตั้งศาลเพียงตาบวงสรวง เอาสายสิญจน์คล้องกับพระหัตถ์พระพุทธรูป และเชิญชวนประชาชนทั้งชาวไทยชาวจีนพร้อมใจกันจับสายสิญจน์ จึงสามารถอาราธนาขึ้นฝั่งได้โดยง่าย “หลวงพ่อพุทธโสธร” ประดิษฐาน  ณ  วัดโสธรวรารามวรวิหารจังหวัดฉะเชิงเทรา จนถึงทุกวันนี้

​​​​​​​     พระพุทธโสธรเดิมเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยสำริดอย่างสวยงาม ต่อมาพระสงฆ์ในวัดเห็นว่ากาลต่อไป   ภายหน้าคนที่กิเลสแรงกล้าอาจจะลักไปเพื่อประโยชน์ส่วนตัว เพื่อความปลอดภัยจึงพอกปูนเสริมให้ใหญ่หุ้มองค์จริงไว้ภายใน พุทธลักษณะขององค์หลวงพ่อพระพุทธโสธรที่ปรากฏในปัจจุบัน จึงเป็นแบบปูนปั้นลงรักปิดทอง พระวรกายแบบเทวรูป พระตักตร์แบบศิลปะล้านนา พระเกตุมาลาแบบปลี อันหมายถึงความอยู่เย็นเป็นสุขตามคติของชาวจีน ข้อพระกรข้างขวามีกำไลรัดตรึง เป็นเครื่องหมายถึงความอาทรห่วงใย มีความกว้างของพระเพลา  3 ศอก 5 นิ้ว (หน้าตักกว้าง 1.65 เมตร สูง 1.48 เมตร) เวลาเปิดให้เข้านมัสการ วันธรรมดา ตั้งแต่เวลา 07.00 น. -16.15 น วันหยุด ตั้งแต่เวลา07.00 น. - 17.00 น

​​​​​​​     สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เบอร์โทร 038-511-048

​​​​​​​     บริเวณวัดโสธรวรารามวรวิหาร มีบริการร้านค้าจำหน่ายอาหารและสินค้าของที่ระลึกจากจังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดใกล้เคียง นอกจากนั้นบริเวณท่าน้ำของวัด มีบริการล่องเรือเพื่อชมวิถีชีวิต 2 ฝั่งแม่น้ำ บางปะกง  จากวัดโสธรวรารามวรวิหาร ผ่านตลาดบ้านใหม่ จนถึงวัดสมานรัตนาราม

วัดสมานรัตนาราม     
​​​​​​​     วัดสมานรัตนาราม ตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางปะกง หมู่ที่11ตำบลบางแก้ว (ตำบลไผ่เสวกเดิม) อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา และใกล้กับโครงการเขื่อนทดน้ำบางปะกง ตามคำบอกเล่าขานของผู้เฒ่าผู้แก่ในสมัยนั้นเล่าสืบกันต่อกันมาว่า มีครอบครัวหนึ่งอยู่ในฐานะมั่นคงเป็นคหบดีมีคนเคารพนับถือ คือ ครอบครัวท่านขุนสมานจีนประชา (เดิมชื่อจ๋าย) เมื่อท่านขุนสมานจีนประชาถึงแก่กรรมแล้ว ภรรยาทั้ง 2 ของท่านขุนสมานจีนประชานางทิม สืบสมาน และนางผ่องสืบสมาน (เพิ่มนคร) พร้อมด้วย นางยี่สุ่น วิริยะพานิช (ผู้เป็นน้องสาว) มีความศรัทธาคิดจะสร้างวัด   เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้สามีผู้ล่วงลับ จึงได้ดำเนินการสร้างวัด ปรากฏตามหลักฐาน เมื่อ พ.ศ. 2422 ใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) ทรงเสร็จทางชลมารคผ่านมาได้ทรงแวะเยี่ยมวัด นอกจากนี้บริเวณท่าน้ำหน้าวัดยังมีพระพิฆเนศปางนอนเสวยสุของค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีความสูง 16 เมตร ความยาว 22 เมตร ความหมายของพระพิฆเนศปางนอนเสวยสุข คือ ความสุขสบาย ความสุขบริบูรณ์มั่งคั่งพร้อมทุกด้านรื่นรมย์ ไร้ทุกข์ ไร้ความเศร้าหมอง อิ่มหนำสำราญ มีกิน มีโชคลาภ จะนำความความสุขสบายมาสู่ผู้บูชาถือเป็นมหามงคลสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่คู่ประชาชนในจังหวัดฉะเชิงเทราอีกด้วย

วิธีการเดินทาง/เบอร์โทรศัพท์
​​​​​​​     การเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปวัดสมานรัตนาราม โดยรถยนต์ส่วนตัว
1. จากกรุงเทพใช้เส้นทางมีนบุรี (ทล.304)
​​​​​​​     - ไปยังจังหวัดฉะเชิงเทรา สังเกตป้ายบอกทางเมื่อจะเข้าแปดริ้ว ให้เลี้ยวซ้ายบนสะพาน ดูป้ายฉะเชิงเทรา (ตรงไปจะไปชลบุรี )
​​​​​​​     - ขับรถไปเรื่อย ๆ จะเข้าตัวเมืองฉะเชิงเทรา ผ่าน สถานีรถไฟ - วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา
​​​​​​​     - เมื่อถึงวิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา ให้ขับรถชิดขวา เพื่อเตรียมขึ้นสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง
​​​​​​​     - เมื่อลงสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง (สะพานเฉลิมพระเกียรติ) ขับรถตรงไปจนถึงสี่แยกไฟแดง แยกคอมเพล็กซ์
​​​​​​​     - จากแยกคอมเพล็กซ์ ให้เลี้ยวซ้าย ไปทาง อ.บางคล้า
​​​​​​​     - ขับรถทางตรงประมาณ 4 กิโลเมตร จะถึงปากทางเข้าวัดสมานฯ มีป้ายบอกชัดเจน ให้เลี้ยวช้ายเข้าไป
​​​​​​​     - ขับรถทางตรงต่อไปอีกประมาณ 4 กิโลเมตร จะมีทางเบี่ยงขวา ให้สังเกตป้าย วิ่งข้ามสะพานสูงซึ่งเป็นเขื่อนทดน้ำ
​​​​​​​     - ลงสะพานแล้วให้ขับรถทางตรงต่อไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร จะถึงปากทางเข้าวัดสมานรัตนาราม
2. จากกรุงเทพใช้เส้นทางมอเตอร์เวย์
​​​​​​​     - เมื่ออกจากมอเตอร์เวย์ ให้ไปยังจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยใช้เส้นทาง ทล314
​​​​​​​     - ขับรถทางตรงไปเรื่อย ๆ ประมาณ 12 กม. จะถึงสามแยกไฟแดง เพื่อเข้า ถนน ทล.304 (ไป อ.บางคล้า,อ.พนมสารคาม)
​​​​​​​     - เมื่อถึงสามแยกไฟแดงใหญ่ที่จะไป อ.บางคล้า ให้เลี้ยวขวา เข้าสู่ ทล.304 (ไป อ.บางคล้า,อ.พนมสารคาม)
​​​​​​​     - ขับรถทางตรงประมาณ 10 กิโลเมตร จะถึงปากทางเข้าวัดสมานฯ มีป้ายบอกชัดเจน ให้เลี้ยวช้ายเข้าไป
​​​​​​​     - ขับรถทางตรงต่อไปอีกประมาณ 4 กิโลเมตร จะมีทางเบี่ยงขวา ให้สังเกตป้าย วิ่งข้ามสะพานสูงซึ่งเป็นเขื่อนทดน้ำ
​​​​​​​     - ลงสะพานแล้วให้ขับรถทางตรงต่อไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร จะถึงปากทางเข้าวัดสมานรัตนาราม
การเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปวัดสมานรัตนาราม โดยรถตู้ประจำทาง
รถตู้โดยสารประจำทางจากกรุงเทพฯ คิวรถอยู่ที่อนุสาวรีย์ชัย รถใช้เส้นทางมอเตอร์เวย์
​​​​​​​     • คิวรถวัดสมานฯ โทร. 080-099 9144
​​​​​​​     • คิวรถอนุสาวรีย์ชัยฯ โทร. 080-646 9227
การเดินทางจากสถานีขนส่งฉะเชิงเทรา ไปวัดสมานรัตนาราม โดยรถสองแถว
สำหรับประชาชนทั่วไปที่ต้องการเดินทางไปวัดสมานฯ สามารถมาขึ้นรถสองแถวได้ที่ สถานีขนส่งใหม่ ฉะเชิงเทรา (ตรงข้ามห้างบิ๊กซี1) ค่ารถ 30 บาท
โทรศัพท์08-1983-0400 โทรสาร038-584-060
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ พระครูปลัดสุวัฑฒนพรหมจริยคุณ  เบอร์โทร 08-1983-0400

ประวัติความเป็นมา
     ตลาดบ้านใหม่ เป็นตลาดที่มีอายุมากกว่า 100 ปี เป็นชุมชนเก่าแก่แห่งหนึ่งของจังหวัดฉะเชิงเทราที่มีวิถีชีวิตเดิมที่โดดเด่นที่แตกต่างจากชุมชนอื่น ๆ นั้นคือ บ้านเรือนที่มีเอกลักษณ์เก่าแก่ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นสถานที่ถ่ายภาพยนตร์ และละครย้อนยุคของชุมชนชาวจีน เช่น อยู่กับก๋ง นางนาค เจ้าสัวสยาม ร้านขายของและร้านอาหารที่มีความหลากหลาย เป็นที่รวบรวมอาหารรสเด็ดของแปดริ้ว ทั้งอาหารจีน อาหารไทย มีร้านกาแฟโบราณรสชาติเข้มข้นหอมหวาน เป็นที่รวบรวมของฝากที่ต้องแวะซื้อเป็นของฝากกลับบ้าน

ตำแหน่งที่ตั้ง
​​​​​​​     ต.บ้านใหม่ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา

​​​​​​​

วิธีการเดินทาง/เบอร์โทรศัพท์
​​​​​​​     รถยนต์ส่วนตัว
​​​​​​​     ​​​​​​​     -เส้นทางที่ 1 : จากถนนรามอินทรา วิ่งมาจนสุดถึงแยกที่ตรงไปมีนบุรี แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามถนน 304 จนถึงตัวเมืองฉะเชิงเทรา ก่อนขึ้นสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกงจะมีป้ายบอกทางไปตลาดบ้านใหม่ แล้วเลี้ยวซ้ายผ่านตลาดฉะเชิงเทรา ผ่านโรงพักฉะเชิงเทรา จะพบตลาดบ้านใหม่อยู่ทางขวามือ ข้ามสะพานมาจะเป็นที่จอดรถ
​​​​​​​     ​​​​​​​     -เส้นทางที่ 2 : วิ่งถนนบางนา-ตราด (หมายเลข 34) แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนน 314 บางปะกง-ฉะเชืงเทรา ชิดขวาวิ่งเข้าตัวเมืองฉะเชิงเทรา แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าตลาดบ้านใหม่ ตามป้าย
​​​​​​​   ​​​​​​​       -เส้นทางที่ 3 : จากถนนมอเตอร์เวย์ ให้ออกตรงทางไปบางปะกง แล้วเข้าถนน 314 บางปกง-ฉะเชิงเทรา ชิดขวาวิ่งเข้าตัวเมืองฉะเชิงเทรา แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าตลาดบ้านใหม่ตามป้าย
​​​​​​​     รถไฟ : มีรถไฟออกจากสถานีหัวลำโพงเวลา 05.55, 06.55, 08.00, 10.10, 12.10 (คัดมาเฉพาะรถเที่ยวเช้า) วิ่งผ่านสถานีมักกะสัน, คลองตัน, หัวหมาก, ทับช้าง, ลาดกระบัง ฯลฯ ใช้เวลาราวชั่วโมงครึ่งก็ถึงฉะเชิงเทรา เมื่อถึงหน้าสถานีแล้วโบกรถสองแถวสีขาวไปตลาดบ้านใหม่
​​​​​​​     รถประจำทาง : ถ้าอยู่ใกล้เอกมัย ก็นั่งรถจากเอกมัยมาลงฉะเชิงเทรา แล้วต่อรถสองแถวจากหน้าสถานีขนส่ง

ตลาดน้ำบางคล้า
​​​​​​​     องเที่ยวของคณะผู้บริหารเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของอำเภอบางคล้า  โดยส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ประกอบอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้  ซึ่งทางเทศบาลตำบลบางคล้าได้เตรียมการรองรับตลาดน้ำบางคล้าโดยจัดมีการฝึกอบรมอาชีพแก่ประชาชน เช่น  บริการนวดเพื่อสุขภาพ  การทำอาหารและทำขนม  การประดิษฐ์ของที่ระลึก  เป็นต้น  ซึ่งสามารถนำไปใช้ประกอบอาชีพจริงและสร้างรายได้จริง 

จุดน่าสนใจของตลาดน้ำบางคล้า
​​​​​​​     ตลาดน้ำบางคล้า  มีลักษณะเป็นโป๊ะที่ยื่นลงสู่แม่น้ำบางปะกง  และมีการค้าขายสินค้าทางเรือโดยส่วนมาก  โดยมีการจัดจำหน่ายสินค้าอย่างหลากหลายทั้งยังเป็นสินค้าที่ผสมผสานความเป็นไทยในอดีตกับปัจจุบันได้อย่างลงตัว  ไม่ว่าจะเป็นหีบห่อของอาหารที่ทำจากใบตอง  ภาชนะใส่เครื่องดื่มทำจากดินปั้น  เป็นต้น
​​​​​​​     ตลาดน้ำบางคล้ายังมีความพิเศษในเรื่องทัศนียภาพที่สวยงามริมฝั่งแม่น้ำบางปะกง  ธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์เป็นป่าชายเลนที่มีทรัพยากรธรรมชาติอยู่มากมายไม่ว่าจะเป็นกุ้ง ปลา พันธุ์ไม้ต่าง ๆ หรือแม้แต่วิถีชีวิตของชาวบ้านริมฝัแม่น้ำที่มีการดักลอบปลา  หรือพายเรือจับปลา  จับกุ้ง เป็นต้น

กิจกรรมเสริมของตลาดน้ำ
​​​​​​​     ตลาดน้ำบางคล้ามีกิจกรรมกิจกรรมเสริมของตลาดน้ำ ได้แก่ เรือเช่า   ชมเกาะลัด (เกาะน้ำจืด) โดยมีนักเรียนของเทศบาลมาเป็นมัคคุเทศก์ โดยเรือมีไว้ให้บริการนักท่องเที่ยวท่านละ   60 บาท และเช่าเหมาลำ 2,900 บาท/เที่ยว สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 038 –541-027

การเดินทาง
​​​​​​​     ทางรถยนต์ :  จากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางได้ 4 เส้นทาง  
​​​​​​​     1. จากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข 304 (กรุงเทพฯ - มีนบุรี – ฉะเชิงเทรา) ระยะทาง 75 กิโลเมตร   
​​​​​​​     2. จากกรุงเทพฯไปตามทางหลวงหมายเลข 34 (ถนนสายบางนา – ตราด) จากนั้นเลี้ยวเข้าทางหลวงหมายเลข  314 (บางปะกง – ฉะเชิงเทรา) ระยะทาง 90 กิโลเมตร
​​​​​​​     3. จากกรุงเทพฯไปตามทางหลวงหมายเลข 3 (ผ่านสมุทรปราการ - บางปะกง) จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 314 ระยะทาง 100 กิโลเมตร 
​​​​​​​     4. เส้นทางสายมอเตอร์เวย์  ( กรุงเทพฯ - ชลบุรี ) เลี้ยวซ้าย ออก ฉะเชิงเทรา
​​​​​​​     ซึ่ง 4 เส้นทางข้างต้นต้องผ่านเข้าตัวเมือง ทาง อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทราก่อน   หลังจากนั้น วิ่งเข้าเส้นทางทางหลวงหมายเลข 304  มุ่งหน้าสู่ อ.พนมสารคาม  เมื่อถึง กม. ที่ 17  ให้เลี้ยวซ้าย เข้า อ.บางคล้า


Line

คะแนนโหวต :
starstarstarstarstar
จำนวนการเข้าชม : 49,674